วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บ้านแม่จันใต้ ในฝัน

                                                        แม่จันใต้ในฝัน 




                        แม่จันใต้อยู่สูงเด่นเห็นสง่า  เผ่าอาข่าที่ใดใครจะเหมือน
              เรายกย่องบรรพชนไม่บิดเบือน  ไม่ลืมเลือนจืดเจื่อนไปตามเวลา
                       วัฒนธรรมล้ำเลิศบรรเจิดศิลป์  ใครได้ยินดุษฎีน่าอิจฉา
             ศาสตร์ศิลป์งามมีฐิติสู่สายตา    เราปรีชาสามารถเป็นหนึ่งเดียว
                       เหล่าต้นไม้เขียวขจีในไพรสัณฑ์  บุปผาชาตินานาพรรณหลากสีสัน
             สัตว์เล็กใหญ่พึ่งพาอาศัยกัน  ร่วมผูกพันธุ์เป็นหนึ่ง ณ บ้านเราเอย....

                แม่จันใต้เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บน ขุนเขา ประกอบด้วย34หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด210คน ชาย103คน หญิง107คน รอบๆหมู่บ้านล้อมไปด้วยป่าไม้ ในป่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด สัตว์ป่านานาพันธุ์ ประเพณีวัฒนธรรมยังคงเดิมไว้ครั้งจากการสืบทอดของบรรพบุรุษ เด็กๆจะเข้าศึกษาหนังสือที่โรงเรียนห้วยน้ำขุ่นวิทยาพร้อมกับการเรียนภาษาจีนควบคู่กันที่โรงเรียนหมิงหลานจงแสว การใช้ชีวิตส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีทำให้บางสิ่งบางอย่างลบเลือนไปกับกาลเวลา และใช่อยู่ที่ว่าสมัยนี้เป็นยุคของโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกด้าน กระแสหลักของสังคมได้กลืนกินวัฒนธรรมอันดีงามไป แต่แม่จันใต้ยังคงวัฒนธรรมประเพณีไว้ไม่เคยเปลี่ยน พี่น้องและสหายลองคิดดู ถ้าความเจริญมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง อนาคตข้างหน้าหมู่บ้านเราจะเกิดอะไรขึ้น และเราควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ประเพณีวัฒนธรรม ป่าไม้ สัตว์ป่ายังคงอยู่กับหมู่บ้านเราอย่างยั่งยืน
                จากเหตุผลดังกล่าว คิดว่าการที่เราจะรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้คงไม่ยากเกินความสามรถของทุกคน แม่จันใต้พูดได้ว่าเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่เลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะกล่าวถึงด้านไหนก็ดีทุกอย่าง ยกเว้นก็เสียแต่ว่าไม่มีไฟฟ้าใช้ และถนนไม่ใช่ลาดยาง ทำให้ลำบากในการจราจรและคมนาคม แต่นี่ไม่ใช่ปัญหาที่ทุกคนจะพัฒนาหมู่บ้าน แม่จันใต้นับถือศาสนาบรรพบุรุษ ตั้งแต่บรรพชน ในทุกช่วงของแต่ละปี จะมีการประกอบพิธีกรรมของแต่ละประเพณีตามที่สืบทอดกันมา (แต่ละช่วงจะมีพิธีของมันตามวันและเวลาเหมาะสม) ศาสนาบรรพบุรุษจะไม่เชื่อในเรื่องของเทพเจ้า ไม่ใช่ลัทธิเทวนิยม แต่เป็นลัทธิอเทวนิยมที่เชื่อในเรื่องวิญญาณ ภูตผีปีศาจ ปู่ยาตายาย ซึ่งเชื่อกันว่าปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้วจะปกป้องดูแล ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะมีการทำพิธีขอขมา และทุกครั้งในการประกอบพิธีกรรมก็จะมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ตามความเชื่อที่ว่าเพื่อให้บรรพบุรุษ
รับรู้ถึงความรักความคิดถึงที่มีต่อพวกเขา และเพื่อขอให้บรรพบุรุษดูแลในด้านต่างๆให้ความเป็นอยู่เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว เรื่องการงานอาชีพ ก็จะเชื่อกันว่าสิ่งที่ได้กระทำไว้บรรพบุรุษเป็นบุญกุศล และย้อนกลับมายังผู้กระทำให้
                ทุกเช้าชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมตัวในการทำไร่ทำสวน เศรษฐกิจแม่จันใต้ไม่ได้ด้อยกว่าที่อื่น กาแฟถือได้ว่ามีคุณภาพ รสชาติดี ชื่อเสียงติดอันดับของโลก ชาเป็นอีกหนึ่งชนิดที่ชาวแม่จันใต้และหมู่บ้านในละแวกเดียวกันนิยมปลูก เพราะดูแลง่าย และให้ผลผลิตดี ไม่เพียงเท่านี้แม่จันใต้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้นานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชอรี่ ลูกไหน ลูกพลัม ลูกพลับ บ๊วยและลูกท้อ ที่เป็นแหล่งรายได้ให้กับชาวบ้าน ผลไม้เหล่านี้จะมีในเขตหนาว ซึ่งเราจะได้ยินทั่วไปว่าผลไม้เมืองหนาว รวมถึงเพราะความที่แม่จันใต้เป็นหมู่ บ้านที่ตั้งอยู่บนขุนเขา ทำให้ธรรมชาติร่มรื่น ในดงพงไพรเต็มไปด้วยสัตว์ป่า ดอกได้ แม่น้ำลำธาร เป็นผลพลอยให้มีนักท่องเที่ยวมาเยือนในฤดูกาลต่างๆ โดยเฉพาะฤดูหนาวที่มีดอกพญาเสือโคร่ง(ซากุระ)และผลไม้เมืองหนาว จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนมากกว่าปกติ เพื่อมาลิ้มรสผลไม้ต่างๆและบรรยากาศบนยอดดอยกลางขุนเขา นี่ก็เป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม อีกอย่างหนึ่งชาวแม่จันใต้จะให้ความสำคัญกับการศึกษาของลูกหลาน ลูกหลานทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ ถ้าเฉลี่ยความเป็นไปได้แล้วเยาวชนแม่จันใต้จะเรียนสูงและจบเยอะกว่าหมู่บ้านในละแวกเดียวกัน ทั้งจีนและไทย ซึ่งถือกันว่าเยาวชนแม่จันใต้เป็นเด็กมีคุณภาพ หลายคนจบออกมาก็กลับมาพัฒนาหมู่บ้าน ทำให้การใช้ชีวิตของชาวบ้านเป็นไปอย่างสันติ พึ่งพาอาศัยกันและกันท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่น
                ฉะนั้น เราทุกคนควรรักษาสิ่งดีงามเหล่านี้ไว้มิให้ลบเลือนไปกับกาลเวลา โดยเฉพาะยุคของเราที่มีการศึกษาสูง เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า เราต้องพัฒนา สร้างสรรค์หมู่บ้านให้ดีกว่าเดิม ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อเราทุกคนมีกำลังใจ มีเป้าหมายร่วมกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รักในความเป็นอาข่า ความเป็นอยู่และการเป็นตัวของตัวเอง และนี่ไม่ใช่หน้าที่ของคนๆเดียวแต่เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องเรียนรู้ สืบทอดความเป็นอาข่าไม่ให้เสื่อมหายไปในยุคของเรา จากข้อความข้างต้น ดิฉันหวังว่าเราทุกคนคงจะหันมาให้ความร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์หมู่บ้าน พ่อแม่พี่น้องแม่จันใต้ทุกคนคะ เราจงเดินไปพร้อมกัน จงจับมือร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อสานฝันให้หมู่บ้านแม่จันใต้เป็นอย่างที่เราฝันกันเถอะ
                                                                                                               
พี่น้องและสหาย








น.ส. อรพรรณ จือปา                        http://www.facebook.com/profile.php?id=100001136925358                                                                                                                       เยาวชนอ่าข่า  บ้านแม่จันใต้








อีกไม่นาน บรรยากาศ แบบนี้ จะอยู่กับบ้านแม่จันใต้ ตลอดไป 


วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พิธีกรรม อ่าข่า ในรอบปี aq kaq ghanr khovq




พิธีกรรมอ่าข่าในรอบปี ตามจารีตประเพณี

                . พิธีเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว “แช้ จี้ ชี-เออ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ปลายเดือนมีนาคมเป็นพิธีกรรมภายในครอบครัว เกี่ยวกับการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวครั้งสุดท้ายที่ได้จากไร่ นำไปเก็บไว้ในบ้านเพื่อลูกหลานจะได้มีพันธุ์ข้าวไว้ปลูกในปีต่อไป

                 . อยู่กรรมไม่จุดไฟเผาไร่ “หมี่จ่าเข่อหมี่ลอง เป็นการ ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน0แสดงให้เห็นว่า หมดฤดูกาลเผาไฟในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกแล้ว และเป็นการอุทิศส่วนบุญกุศลให้สัตว์ที่ตายไป จากการที่เผาไร่โดยหยุดการทำงานเป็นเวลา ๑ วัน

                ๓. พิธีต้อนรับฤดูกาลใหม่ขึ่มสึขึ่มมี้อาเผ่ว เดือนเมษายน เป็นพิธีการต้อนรับฤดูกาลใหม่จากฤดูร้อนไปสู่ฤดูฝน เริ่มทำการเพาะปลูกได้และยังถือได้ว่าเป็นวันเด็กอาข่า มีการเล่นชนไข่โดยการย้อมเปลือกไข่เป็นสีแดงและใส่ตะกร้าห้อยไปมาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประเพณีชนไข่โดยในช่วงงานนี้จะหยุดการทำงาน ทั้งหมู่บ้าน

                ๔. พิธีปลูกประตูหมู่บ้านประตูผีล้อข่องดู่-เออ เดือนเมษายนอาข่ามีความเชื่อต่อการทำประตูหมู่บ้านว่า เพื่อไม่ให้ภูตผีปีศาจโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดเข้ามาในชุมชน เป็นการปกป้อง คุ้มครองคนในชุมชน ซึ่งประตูหมู่บ้านนี้ห้ามบุคคลทุกเพศทุกวัยแตะต้องโดยเด็ดขาด และสามารถบอกอายุการตั้งหมู่บ้านได้อีกด้วย โดยนับจากประตูที่ได้สร้างไว้ในแต่ละปี เนื่องจากจะมีการปลูกประตูผีทุกปี โดยใช้เวลาประกอบพิธีเพียง ๑ วัน

                ๕. พิธีถวายทานให้ผีเปรตค๊าด่าฉี่-เออช่วงที่มีโรคระบาดในชุมชน จะทำพิธีไล่วิญญาณสิ่งชั่วร้ายออกจากหมู่บ้าน กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าเชื่อว่า เป็นการเชิญวิญญาณ เจ้าที่ ทาส ผีเปรตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ให้ออกไปจากชุมชน
                ๖. พิธีบูชาเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา มี้ซ้องล้อ-เออ เดือนเมษายน เพื่อให้เจ้าที่ดูแลปกปักรักษาชุมชนอย่างทั่วถึง โดยมีความเชื่อว่าพระภูมิเจ้าที่เป็นผู้ช่วยคุ้มครองดูแลชีวิตและชุมชนให้สงบสุขร่มเย็น การประกอบอาชีพมีรายได้ตลอดปี โดยใช้เวลาทำพิธี ๑ วัน
                 ๗. พิธีปลูกข้าวเริ่มแรกแช้คาอ่าเผ่ว กลางเดือนพฤษภาคม เป็นการบ่งบอกให้รู้ว่าถึงฤดูกาลปลูกข้าวแล้ว และยังเป็นการกำหนดการนับรอบระยะเวลาและอายุ พืชพันธุ์ ตลอดจนการกำหนดวันประกอบพิธีกรรม ประเพณี ต่างๆ ในรอบปีนั้นๆ
 . อยู่กรรม บุ่เด้แจ๊ะลอง-เออ ต้นเดือนมิถุนายน (หลังจากพิธีปลูกข้าวผ่านพ้นไปได้ ๓ สัปดาห์) เป็นการอยู่กรรม (ทำความดี) เพื่อไว้อาลัยแก่สัตว์ แมลง ที่ถูกแทงตายหรือลำตัวขาด ได้มีการต่อตัว โดยใช้เวลาอยู่กรรม ๑ วัน
                 ๙. พิธีกําจัดศัตรูต้นข้าวด้วงดินเดือนเบ่วโอะลอง-เออ มิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม0 เป็นกรรมวิธีการกําจัดศัตรูข้าวในไร่ เนื่องจากด้วงดินชอบกัดกินรากข้าวอ่อน ซึ่งจะทำให้ข้าวนั้นตายโดยไม่มีการเติบโต จึงต้องจัดพิธีกรรมนี้ขึ้นมา
                ๑๐. พิธีทำบุญในไร่ข้าว ขึ่มผี่ล้อ-เออเดือนกรกฎาคม0 เป็นพิธีที่ให้ขวัญและกําลังใจข้าวที่กำลังเจริญงอกงาม รวมทั้งเจ้าที่ที่เฝ้าดูแลรักษาไร่ข้าว เป็นพิธีกรรมระดับครอบครัว
                ๑๑. พิธีโล้ชิงช้า  แย้ขู่อาเผ่ว  ปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน เป็นพิธีโล้ชิงช้าของชาวอาข่ารวมถึงการฉลองผลิตผลทางการเกษตร ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ประเพณีของผู้หญิง
                ๑๒. พิธีไหว้บรรพบุรุษ ยอลาอาเผ่วเดือนกันยายน0 เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเชิดชูอดีตผู้นำทางวัฒนธรรมซึ่งเคยดำรงตำแหน่งมาก่อน
                ๑๓. การอยู่กรรมแซ้ย์ลอง-เออปลายเดือนกันยายน0 ชาวอาข่าเชื่อว่าถ้าได้มองเห็นโลกของวิญญาณสัตว์แซ้ย์ประเภทนี้ จะทำให้เจ็บป่วยและอาจตายได้ จึงต้องมีการอยู่กรรมในวันแซ้ย์ เพื่อที่จะไม่ให้มองเห็นสัตว์ประเภทนี้
                 ๑๔. พิธีไหว้ต้อนรับวิญญาณ บรรพบุรุษ ๗ ชั่วโคตร ยาจิ๊อาเผ่วเดือนตุลาคม เป็นการจัดพิธีกรรมต้อนรับเหล่าบรรพบุรุษ ที่ลงมาจากสวรรค์เพื่อเยี่ยมเยือนลูกหลาน
                 ๑๕. อยู่กรรมวันหมู0 “หยะลอง-เออ เดือนตุลาคม0 การอยู่กรรมเป็นเวลา ๑ วัน โดยไม่มีการทำพิธีกรรมใดๆ เพื่อเป็นการซ่อนตัวไม่ให้ผีกับคนบนโลกมนุษย์ได้มองเห็นกัน ถือเป็นการแบ่งเขตของแต่ละฝ่าย
                 
                ๑๕. อยู่กรรมวันหมูหยะลอง-เออเดือนตุลาคม การอยู่กรรมเป็นเวลา ๑ วัน โดยไม่มีการทำพิธีกรรมใดๆ เพื่อเป็นการซ่อนตัวไม่ให้ผีกับคนบนโลกมนุษย์ได้มองเห็นกัน ถือเป็นการแบ่งเขตของแต่ละฝ่าย
                ๑๖. พิธีอยู่กรรมกําจัดศัตรูข้าวตั๊กแตน แจบ๊องลอง-เออ เดือนตุลาคม เมื่อข้าวเริ่มออกรวงเป็นพิธีกรรมกำจัดศัตรูข้าว คือ ตั๊กแตนโดยไม่ใช้สารเคมี ชาวบ้านทุกคนจะอยู่กับบ้านไม่ออกไปทำงาน เพื่อเป็นการอยู่กรรมให้ตั๊กแตน
                 ๑๗. พิธีกินข้าวใหม่0 “ยอพูนองหมื่อเช้ เออ    เดือนพฤศจิกายน มีการกําหนดวันฤกษ์ดีในการเก็บเกี่ยวข้าวของชุมชนและเป็นการเริ่มต้นเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้หลังจากการประกอบพิธีนี้
                 ๑๘. พิธีทำกระบอกเหล้าจากไม้ไผ่ที่ได้จากข้าวใหม่ แซ้สึจี้บ่าฉี่ล้อ-เออ กลางเดือนพฤศจิกายน0 เป็นการเตรียมเหล้ากระบอกไม้ไผ่โดยใช้ข้าวใหม่ สำหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของปีนั้นและสำหรับบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้าต่างๆ

                ๑๙. พิธีเกี่ยวข้าวครั้งสุดท้าย กลางเดือนตุลาคม0 “บ่องเยวแปยะ- เออเป็นการเก็บเกี่ยวข้าวจากในไร่เป็นครั้งสุดท้ายของฤดูกาล และยังเป็นการอันเชิญเจ้าที่ที่ดูแลไร่ข้าวกลับบ้าน
                ๒๐. พิธีปีใหม่ลูกข่าง ค๊าท้องอาเผ่ว เดือนธันวาคม ปีใหม่ลูกข่างนี้ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย จะมีการทำลูกข่างมาแข่งตีกัน เพื่อฉลองการเปลี่ยนแปลงวัยของแต่ละคน


วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การศึกษา ของเยาวชน บ้านแม่จันใต้

เมื่ออายุได้ เกณฑ์ประถมศึกษาก็เข้าโรงเรียนบ้านแม่น้ำขุ่น
เด็กนักเรียนส่วนมาก จะเรียนภาษาไทย ช่วงกลางวัน และเรียนภาษาจีน ในช่วงเช้าและเย็น ที่โรงเรียนจีน 

บรรยากาศ ร้องเพลงประจำโรงเรียนจีน ของนักเรียน


เด็กนักเรียนบางส่วนไปเรียนในต่างจังหวัด เช่น
ที่ นครสวรรค์ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ เป็นต้น 

ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องไปเรียนต่อที่อื่นทั้งหมด เพราะที่บ้านเกิดมีถึง มัธยมศึกษาตอนต้น บางส่วนไปเป็นเด็กวัด เพื่อโอกาสในการเรียนต่อ 
บ้างบวชเรียน หรือ ไปอาศัยอยู่ตามศูนย์สงเคราะห์ ตามจังหวัด 

เด็กนักเรียนที่เรียนจีนไปเรียนต่อ ที่โรงเรียนจีนบ้านถ้ำ และเรียนภาษาไทย ที่โรงเรียนแม่จันวิทยาคม
 โรงเรียนจีน บ้านถ้ำ

โรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อยู่แม่จันเหมือนกัน ที่เด็กผู้ชายไปบวชเรียน กัน เรียนจีน ไทย


พระศรีอาริยเมตไตร องค์ที่ใหญ่ที่สุด อยู่วัดหมื่นพุทธ นี้เอง


โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เชียงใหม่ ก็มีการเข้าไปเรียน






จังหวัด ลำพูน ลำปาง นครสวรรค์  มีเยาวชน เข้าไปเรียนเป็นจำนวนมาก 

โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต



ศูนย์ ชีวิตใหม่เชียงราย 




ในระดับ อุดมศึกษา  ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เรียนจบเยอะที่สุด





การศึกษาในมหาลัยสงฆ์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย








วิทยาเขต นครสวรรค์



มหาลัย พายัพ








มหาวิทยาลัยสยาม

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต



มหาวิทยาลัย รามคำแหง









.................สถานบันทั้งหมดนี้ เยาวชนบ้านแม่จันใต้ ได้ไปศึกษาและสำเร็จมาแล้ว ........................

                  การศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด แม้เราอยู่กลางพงไพร แต่เราไม่เคยคิดปฏิเสธ การศึกษาในสิ่งที่ดี 
พี่น้องและสหายทุกคน ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ทำอะไรก็ตาม พยายามหาโอกาศ แค่เรา แสวงหา สิ่งที่เราปรารถนาก็จะเดินมาเข้ามาใกล้  จงหนักแน่นในความดี มีเป้าหมายชัดเจน 
แล้วเดินไปอย่าไหวหวั่น  อยากให้ทุกๆคนได้เรียนตามฝัน สำเร็จทุกความคาดหวัง สู้ๆคับ 


พี่น้องและสหาย