วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

Geeq lanq khovq-e sanq bovq, จดหมายขอบคุณ ผู้มีส่วนร่วมในการสร้างหอวัฒนธรรมอ่าข่า





                 11 กันยายน 2555

เรื่อง  ขอขอบคุณที่สนับสนุนงบประมาณในการสร้างศูนย์การเรียนภาษาและวัฒนธรรมบ้านแม่จันใต้

เรียน  ท่านผู้มีอุปการคุณ ทุกท่าน

          สืบเนื่องจาก การระดมทุนสร้างศูนย์การเรียนภาษาและวัฒนธรรมบ้านแม่จันใต้ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ณ บ้านแม่จันใต้ หมู่ 25 ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

         การก่อสร้างศูนย์ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย ที่ช่วยกันสมทบเป็นวัสดุในการก่อสร้าง สมทบเป็นค่าแรง และสมทบเป็นตัวเงิน ผู้ที่มีส่วนในการสนับสนุนและให้ความร่วมมือในการก่อสร้างครั้งนี้ได้แก่ โครงการพัฒนาการศึกษาทางเลือกแบบมีส่วนร่วมเพื่อเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง(โครงการ PEICY ) หน่วยงานทหาร พระสงฆ์ เยาวชน ชาวบ้านทุกคนของชุมชนบ้านแม่จันใต้และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป ซึ่งงบประมาณที่ได้สนับสนุนจากทุกฝ่ายคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 152,780 บาท

          ดิฉันนางสาวบุณยวีร์ ทวีพนารักษ์ เป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของโครงการ PEICY ในนามตัวแทนของชุมชนบ้านแม่จันใต้ กราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง ที่เป็นส่วนสำคัญในการสมทบทุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารหลังแรกเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมอ่าข่าของเด็กและเยาวชนบ้านแม่จันใต้ รวมทั้งใช้เป็นสถานที่ในการจัดประชุม ฝึกอบรมทักษะต่างๆ ที่ เป็นประโยชน์ให้กับชาวบ้านต่อไป  หวังอย่างยิ่งว่า โอกาสหน้าเมื่อมีการจัดกิจกรรมโครงการอื่นๆ จะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายทุกท่านอีก

          จึงเรียนมาเพื่อขอขอบพระคุณ

 

                                             ด้วยความเคารพอย่างสูง
                                             ( บุณยวีร์  ทวีพนารักษ์ )

เจ้าหน้าที่พัฒนาการศึกษาทางเลือกของชนเผ่าอ่าข่า

 

 

 

รูปการก่อสร้างอาคาร






รายชื่อผู้ร่วมสมทบทุนการจัดสร้างศูนย์เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมอ่าข่าบ้านแม่จันใต้

หมู่ 25 ตำบลท่าก๊อ  อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Ghanrsanrkhovq dzaw ymr tsov gar pyur hawr-e ghaq manr cawba-eq deq

ลำดับ
Naqba
รายชื่อ
Tsawmyanr
จำนวนเงิน
pyur
ค่าสมทบ
อื่น ๆ
1
โครงการการศึกษาทางเลือก (PEICY Project)
30,000
 
2
Akha ama coffee
10,880
 
3
นางนิภา พรศักดิ์โสภณและครอบรัว
10,000
 
4
นายสรณ์ปกรณ์  สุวรรณมณี 
10,000
 
5
นายอนุสรณ์ จือปาและครอบครัว
10,000
 
6
กองทุนเยาวชนบ้านแม่จันใต้
5,000
 
7
นายถนอม   รัตนะ
5,000
 
8
นายอาซาง   เจอเบีย
5,000
 
9
นายเบทู       เชอหมื่อ
2,000
 
10
นายหล่อแม้  เชอหมื่อ
2,000
 
11
นายชาญชัย  จือปา
2,000
 
12
นางสาวบุณยวีร์  ทวีพนารักษ์
1,000
 
13
นายสุทัศน์  จือปา
1,000
 
14
นาย ชีเออ  จือปา
1,000
 
15
Surmeer lavqbeeqguq
1,000
 
16
นางสาวสุพัตรา จือปาและครอบครัว
500
 
17
ทหารกองรบพิเศษภาค 5
400
 
18
ชาวบ้านแม่จันใต้ 34 หลังเรือนทำงาน 7วันๆ ละ 300 บาทคิดเป็นค่าแรง
 
71,400
19
วัสดุก่อสร้างไม้ โดย พระภาสน ถิรจิตฺโตบริจาคไม้
 
55,000
20
นายแลจือ  จือปา และ นายชีตา  จือปา บริจาคที่ดิน จำนวน 2 งาน
 
10,000
รวมยอดบริจาค
96,780
136,400 -

 

 

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเพณี โล้ชิงช้า อ่าข่า Yaer kuq aqpoeq lawr-e

ประเพณีโล้ชิงช้า




ประเพณีโล้ชิงช้า    Yaer kuq aqpoeq lawr-e
ประเพณีโล้ชิงช้า หรือ อาข่าเรียกว่า “Yaer kuq aq poeq แย้ขู่อาเผ่ว” ซึ่งจะมีการจัดขึ้นทุกๆปีของเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้ายของปีนั้นๆ หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอสำหรับการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “tsawq la bala ฉ่อลาบาลา” ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอาข่า ถือเป็นพิธีกรรมที่มีคุณค่ามาก  ด้วยภูมิปัญญาที่ใช้ในการส่งเสริมความรู้แล้ว ยังเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตประจำวันของอาข่าอีกมากมาย
ประวัติความเป็นมาของประเพณีโล้ชิงช้า ประเพณีโล้ชิงช้ามีต้นกำเนิดมาจากในดินแดนที่มีชื่อว่า “จาแดล้อง” คือพื้นที่ประเทศจีนในปัจจุบัน โดยดินแดนแห่งนี้มีผู้นำอาข่า ที่ชื่อ “ข๊ะบา อาเผ่ว หม่อโล๊ะโล๊ะซื่อ” และ  “ค๊อบาอาเผ่วเอวค๊อ ค๊อคอง” เป็นผุ้นำที่ชาวข่าให้ความเคารพนับถือ โดยกล่าวว่า ดินแดนจาแด จะทำการจัดประเพณีโล้ชิงช้า 33 วัน เมื่อเป็นเช่นนี้สมาชิกในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งคนจนและคนรวย ทุกคนต้องเตรียมเสบียงอาหารไว้เยอะๆ เพื่อเอาไว้ฉลองกันในวันประเพณี นี่คือการบอกเล่าถึงที่มาของประเพณีโล้ชิงช้า
ประเพณีโล้ชิงช้าถือเป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิง ฉะนั้นผู้หญิงอาข่ามีการแต่งกายด้วยเครื่องทรงต่างๆ อย่างสวยงามที่ได้เตรียมไว้ตลอดทั้งปีเอามาสวมใส่เป็นกรณีพิเศษในเทศกาลนี้ สำหรับหญิงสาวอาข่าจะแต่งกายเพื่อยกระดับชั้นวัยสาวตามขั้นตอน แสดงให้คนในชุมชนได้เห็น พร้อมทั้งขึ้นโล้ชิงช้า และร้องเพลงทั้งลักษณะเดี่ยวและคู่
ประเพณีโล้ชิงช้า จัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลองพืชพันธุ์ที่จะได้เก็บเกี่ยวไว้บริโภค เนื่องจากพืชไร่ พืชสวนต่างๆที่ได้ปลุกลงไป พร้องที่จะได้ผลผลิต โดยมีสุภาษิตกล่าวไว้ว่า “ขู่จ่า หม่าโบะ หม่าโบะ” หมายถึง ประเพณีโล้ชิงช้า จะมีอาหารหลากหลายและสมบูรณ์มากมาย หากประเพณีนี้ไม่มี ประเพณีอื่นหรือพิธีกรรมอื่นก็จะไม่มี
       



ลำดับ ประเพณีโล้ชิงช้า





          วันแรก : เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ 

          โดยผู้หญิงจะไปตักน้ำบริสุทธิ์ที่แหล่งน้ำศักสิทธิ์ของหมู่บ้าน เพื่อนำไปแช่ข้าวสารเหนียวไว้ตำเป็นอาหารเซ่นไหว้บูชา ที่เรียกว่า "ข้าวปุก"

          วันที่สอง : เป็นวันสร้างชิงช้าใหญ่ของหมู่บ้าน และเริ่มโล้ชิงช้า 

          วันนี้จะมีการเตรียมการจัดทำ ชิงช้าใหญ่ประจำหมู่บ้าน โดยฝ่ายชายจะรวมตัวกันออกไปตัดไม้มาทำเสาชิงช้า ส่วนเด็ก ๆ ก็จะได้ชิงช้าของพวกเขาเช่นกัน หลังจากเสร็จสิ้นการทำชิงช้าในตอนเย็น ช่วงกลางคืนจะมีการเต้นรำฉลองชิงช้าจนถึงรุ่งสางของวันใหม่ จากนั้นนักเต้นจะได้รับเชิญจากเจ้าบ้านที่มีน้ำใจดี เลี้ยงอาหาร เครื่องดื่ม 

        




  วันที่สาม : เซ่นไหว้บรรพบุรุษ เลี้ยงฉลอง เต้นรำ 

          วันนี้ในตอนเช้ามีการฆ่าสัตว์เลี้ยงเพื่อทำพิธีกรรม และไว้ต้อนรับแขก ญาติมิตรที่มาเยือน จากนั้นก็จะมีการโล้ชิงช้ากันอย่าสนุกสนาน เด็ก ๆ จะมีชิงช้าของพวกเขา ที่หน้าบ้านไว้เล่นเช่นเดียวกัน พอตกกลางคืนจะมีการเต้นรำตลอดทั้งคืน

          
วันที่สี่ : โล้ชิงช้า และทำพิธีปิด 

          วันนี้เป็นวันสุดท้ายของงานปีใหม่ ผู้ที่ยังไม่ได้โล้ชิงช้า ต่างก็จะพากันมาโล้ชิงช้ากันเป็นวันสุดท้าย ก่อนที่หมอผีประจำหมู่บ้านจะผูกสายชิงช้าไว้ก่อนตะวันตกดิน ซึ่งก็คือสิ้นสุดเทศกาลปีใหม่ของชาวอาข่า ส่วนชิงช้าจะถูกปล่อยทิ้งไว้จนกว่าปีใหม่จะเริ่มขึ้นอีกในปีต่อไป โดยห้ามไม่ให้ใครมาเล่นหรือแตะต้องเสาชิงช้าเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืนประเพณีนี้ต้องมีการลงโทษจากชุมชน





เรียยเรียงโดย 

น.ส. รัชนี เชอหมื่อ