วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พิธีกรรม อ่าข่า ในรอบปี aq kaq ghanr khovq




พิธีกรรมอ่าข่าในรอบปี ตามจารีตประเพณี

                . พิธีเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว “แช้ จี้ ชี-เออ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง ปลายเดือนมีนาคมเป็นพิธีกรรมภายในครอบครัว เกี่ยวกับการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวครั้งสุดท้ายที่ได้จากไร่ นำไปเก็บไว้ในบ้านเพื่อลูกหลานจะได้มีพันธุ์ข้าวไว้ปลูกในปีต่อไป

                 . อยู่กรรมไม่จุดไฟเผาไร่ “หมี่จ่าเข่อหมี่ลอง เป็นการ ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน0แสดงให้เห็นว่า หมดฤดูกาลเผาไฟในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกแล้ว และเป็นการอุทิศส่วนบุญกุศลให้สัตว์ที่ตายไป จากการที่เผาไร่โดยหยุดการทำงานเป็นเวลา ๑ วัน

                ๓. พิธีต้อนรับฤดูกาลใหม่ขึ่มสึขึ่มมี้อาเผ่ว เดือนเมษายน เป็นพิธีการต้อนรับฤดูกาลใหม่จากฤดูร้อนไปสู่ฤดูฝน เริ่มทำการเพาะปลูกได้และยังถือได้ว่าเป็นวันเด็กอาข่า มีการเล่นชนไข่โดยการย้อมเปลือกไข่เป็นสีแดงและใส่ตะกร้าห้อยไปมาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประเพณีชนไข่โดยในช่วงงานนี้จะหยุดการทำงาน ทั้งหมู่บ้าน

                ๔. พิธีปลูกประตูหมู่บ้านประตูผีล้อข่องดู่-เออ เดือนเมษายนอาข่ามีความเชื่อต่อการทำประตูหมู่บ้านว่า เพื่อไม่ให้ภูตผีปีศาจโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดเข้ามาในชุมชน เป็นการปกป้อง คุ้มครองคนในชุมชน ซึ่งประตูหมู่บ้านนี้ห้ามบุคคลทุกเพศทุกวัยแตะต้องโดยเด็ดขาด และสามารถบอกอายุการตั้งหมู่บ้านได้อีกด้วย โดยนับจากประตูที่ได้สร้างไว้ในแต่ละปี เนื่องจากจะมีการปลูกประตูผีทุกปี โดยใช้เวลาประกอบพิธีเพียง ๑ วัน

                ๕. พิธีถวายทานให้ผีเปรตค๊าด่าฉี่-เออช่วงที่มีโรคระบาดในชุมชน จะทำพิธีไล่วิญญาณสิ่งชั่วร้ายออกจากหมู่บ้าน กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าเชื่อว่า เป็นการเชิญวิญญาณ เจ้าที่ ทาส ผีเปรตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ให้ออกไปจากชุมชน
                ๖. พิธีบูชาเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา มี้ซ้องล้อ-เออ เดือนเมษายน เพื่อให้เจ้าที่ดูแลปกปักรักษาชุมชนอย่างทั่วถึง โดยมีความเชื่อว่าพระภูมิเจ้าที่เป็นผู้ช่วยคุ้มครองดูแลชีวิตและชุมชนให้สงบสุขร่มเย็น การประกอบอาชีพมีรายได้ตลอดปี โดยใช้เวลาทำพิธี ๑ วัน
                 ๗. พิธีปลูกข้าวเริ่มแรกแช้คาอ่าเผ่ว กลางเดือนพฤษภาคม เป็นการบ่งบอกให้รู้ว่าถึงฤดูกาลปลูกข้าวแล้ว และยังเป็นการกำหนดการนับรอบระยะเวลาและอายุ พืชพันธุ์ ตลอดจนการกำหนดวันประกอบพิธีกรรม ประเพณี ต่างๆ ในรอบปีนั้นๆ
 . อยู่กรรม บุ่เด้แจ๊ะลอง-เออ ต้นเดือนมิถุนายน (หลังจากพิธีปลูกข้าวผ่านพ้นไปได้ ๓ สัปดาห์) เป็นการอยู่กรรม (ทำความดี) เพื่อไว้อาลัยแก่สัตว์ แมลง ที่ถูกแทงตายหรือลำตัวขาด ได้มีการต่อตัว โดยใช้เวลาอยู่กรรม ๑ วัน
                 ๙. พิธีกําจัดศัตรูต้นข้าวด้วงดินเดือนเบ่วโอะลอง-เออ มิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม0 เป็นกรรมวิธีการกําจัดศัตรูข้าวในไร่ เนื่องจากด้วงดินชอบกัดกินรากข้าวอ่อน ซึ่งจะทำให้ข้าวนั้นตายโดยไม่มีการเติบโต จึงต้องจัดพิธีกรรมนี้ขึ้นมา
                ๑๐. พิธีทำบุญในไร่ข้าว ขึ่มผี่ล้อ-เออเดือนกรกฎาคม0 เป็นพิธีที่ให้ขวัญและกําลังใจข้าวที่กำลังเจริญงอกงาม รวมทั้งเจ้าที่ที่เฝ้าดูแลรักษาไร่ข้าว เป็นพิธีกรรมระดับครอบครัว
                ๑๑. พิธีโล้ชิงช้า  แย้ขู่อาเผ่ว  ปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน เป็นพิธีโล้ชิงช้าของชาวอาข่ารวมถึงการฉลองผลิตผลทางการเกษตร ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ประเพณีของผู้หญิง
                ๑๒. พิธีไหว้บรรพบุรุษ ยอลาอาเผ่วเดือนกันยายน0 เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเชิดชูอดีตผู้นำทางวัฒนธรรมซึ่งเคยดำรงตำแหน่งมาก่อน
                ๑๓. การอยู่กรรมแซ้ย์ลอง-เออปลายเดือนกันยายน0 ชาวอาข่าเชื่อว่าถ้าได้มองเห็นโลกของวิญญาณสัตว์แซ้ย์ประเภทนี้ จะทำให้เจ็บป่วยและอาจตายได้ จึงต้องมีการอยู่กรรมในวันแซ้ย์ เพื่อที่จะไม่ให้มองเห็นสัตว์ประเภทนี้
                 ๑๔. พิธีไหว้ต้อนรับวิญญาณ บรรพบุรุษ ๗ ชั่วโคตร ยาจิ๊อาเผ่วเดือนตุลาคม เป็นการจัดพิธีกรรมต้อนรับเหล่าบรรพบุรุษ ที่ลงมาจากสวรรค์เพื่อเยี่ยมเยือนลูกหลาน
                 ๑๕. อยู่กรรมวันหมู0 “หยะลอง-เออ เดือนตุลาคม0 การอยู่กรรมเป็นเวลา ๑ วัน โดยไม่มีการทำพิธีกรรมใดๆ เพื่อเป็นการซ่อนตัวไม่ให้ผีกับคนบนโลกมนุษย์ได้มองเห็นกัน ถือเป็นการแบ่งเขตของแต่ละฝ่าย
                 
                ๑๕. อยู่กรรมวันหมูหยะลอง-เออเดือนตุลาคม การอยู่กรรมเป็นเวลา ๑ วัน โดยไม่มีการทำพิธีกรรมใดๆ เพื่อเป็นการซ่อนตัวไม่ให้ผีกับคนบนโลกมนุษย์ได้มองเห็นกัน ถือเป็นการแบ่งเขตของแต่ละฝ่าย
                ๑๖. พิธีอยู่กรรมกําจัดศัตรูข้าวตั๊กแตน แจบ๊องลอง-เออ เดือนตุลาคม เมื่อข้าวเริ่มออกรวงเป็นพิธีกรรมกำจัดศัตรูข้าว คือ ตั๊กแตนโดยไม่ใช้สารเคมี ชาวบ้านทุกคนจะอยู่กับบ้านไม่ออกไปทำงาน เพื่อเป็นการอยู่กรรมให้ตั๊กแตน
                 ๑๗. พิธีกินข้าวใหม่0 “ยอพูนองหมื่อเช้ เออ    เดือนพฤศจิกายน มีการกําหนดวันฤกษ์ดีในการเก็บเกี่ยวข้าวของชุมชนและเป็นการเริ่มต้นเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวได้หลังจากการประกอบพิธีนี้
                 ๑๘. พิธีทำกระบอกเหล้าจากไม้ไผ่ที่ได้จากข้าวใหม่ แซ้สึจี้บ่าฉี่ล้อ-เออ กลางเดือนพฤศจิกายน0 เป็นการเตรียมเหล้ากระบอกไม้ไผ่โดยใช้ข้าวใหม่ สำหรับใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของปีนั้นและสำหรับบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้าต่างๆ

                ๑๙. พิธีเกี่ยวข้าวครั้งสุดท้าย กลางเดือนตุลาคม0 “บ่องเยวแปยะ- เออเป็นการเก็บเกี่ยวข้าวจากในไร่เป็นครั้งสุดท้ายของฤดูกาล และยังเป็นการอันเชิญเจ้าที่ที่ดูแลไร่ข้าวกลับบ้าน
                ๒๐. พิธีปีใหม่ลูกข่าง ค๊าท้องอาเผ่ว เดือนธันวาคม ปีใหม่ลูกข่างนี้ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย จะมีการทำลูกข่างมาแข่งตีกัน เพื่อฉลองการเปลี่ยนแปลงวัยของแต่ละคน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น